วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทำไมต้อง 'เรียกผมว่า Rookie'


ทำไมต้อง 'เรียกผมว่า Rookie'

เรียกผมว่า ROOKIE! สำนักพิมพ์ a book 
คำถามแรกที่เกิดขึ้นเมื่อผมเห็นชื่อหนังสือเล่มนี้
ลองหยิบมาอ่านหน่อยแล้วกัน
เด็กผู้ชายคนหนึ่งชื่อภู หรือมักจะเรียกตัวเองว่าภูภู่ (เพื่อจะให้ดูเก๋ ทันสมัย) เป็นเด็กที่เรียนไม่เก่ง พ่อจึงส่งให้เขาไปเรียนปวช ปวสด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์เพราะคิดว่าคงจะดีกว่าให้เรียนม.ปลาย ถึงเขาจะเรียนไม่เก่ง แต่เขาก็มีความสามารถอย่างหนึ่งที่โดดเด่น คือการวาดรูป ช่วงที่เรียนนั้น เขาก็วาดรูปไปเรื่อยๆ วาดลงเว็บPantipจนเป็นที่สนใจ และไปวาดต่อในเว็บ exteen จนเมื่อเขาเรียนจบปวส จึงตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาตรี ด้านวารสารศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนี่แหละคือการที่ผู้ชายคนนี้ได้เริ่มทำในสิ่งที่ชอบอย่างเต็มที่
เมื่อได้เขามาเรียนแล้วเขาก็สามารถเรียนผ่านไปได้ดี จนมาถึงตอนปี4 ช่วงที่ต้องฝึกงาน เขามีจิตใจที่แน่วแน่ว่าจะไปฝึกงานที่ a book จึงให้พี่ที่อยู่ exteen ช่วยติดต่อให้ จนในที่สุดเขาก็ได้ไปฝึกงานที่        a book ฝ่ายศิลปกรรม หรือคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
การฝึกงานครั้งนี้ทำให้เขาได้ทำในสิ่งที่ชอบ เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ และที่สำคัญคือได้ประสบการณ์ที่มากมายกว่าตอนเรียนในชั้นเรียน เขามีความสุขกับการฝึกงาน สุขใจที่ได้ทำในสิ่งที่รัก และยังได้ทำงานกับรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์อีกหลายคน จนเขากลายเป็นน้องที่น่ารักของพี่ๆ

ทำไมต้องเรียกผมว่าRookieนะหรอ
ตอนนี้ผมมีคำตอบแล้ว เพราะหนังสือเล่มที่ผมหยิบมาอ่านนี้ เป็นหนังสือที่ภูภู่เขียนขึ้นมาเอง จะเรียกว่าเสร็จสมบูรณ์เล่มแรกก็ได้ เพราะฉะนั้น เขาก็ถือเป็นมือใหม่สำหรับการเขียนหนังสือ

ทำไมผมถึงชอบหนังสือเล่มนี้ เพราะผมคิดว่ามันคล้ายๆกับชีวิตของผม ถึงผมจะไม่ได้เรียนเก่งมากเหมือนคนอื่นๆ แต่ผมก็ได้ทำในสิ่งที่ผมรักและชอบ ก็คือการเล่นกีฬาบาสเกตบอล ผมฝึกฝนมันมาเรื่อยๆ จนถึงตอนนี้ผมก็ได้ไปแข่งในหลายๆที่ และประสบความสำเร็จตามที่ผมหวังไว้แล้ว ซึ่งนี่แหละคือความสุขของผม เหมือนที่ภูภู่มีความสุขกับการวาดรูป

ไม่แน่นะต่อไปผมอาจมีหนังสือที่ชื่อว่า เรียกผมว่า BOAT!

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตลาดการศึกษาออนไลน์

 

            



ตลาดการศึกษาออนไลน์ (NOE Plaza)
 
               นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาร่วมการงานการให้บริการระบบเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โครงการส่งเสริมการบูรณาการนวัตกรรมการจัดการศึกษาด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ (NOE Plaza: ตลาดการศึกษาออนไลน์)
ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กับบริษัท เดอะ โฟธ เวฟ โซลูชั่นส์ จำกัด เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔  ณ ห้องจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ
                ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตลาดการศึกษาออนไลน์ หรือ MOE Plaza เป็นความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กับบริษัท เดอะ โฟธ เวฟ โซลูชั่นส์ จำกัด ในการจัดทำระบบการให้การศึกษาออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน และเป็นศูนย์กลางรวบรวมสื่อการเรียนการสอนขนาดใหญ่ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน อีกทั้งส่งเสริมพัฒนาทักษะครูในการสร้างสื่อและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนการสอน ซึ่งมีการตั้งเป้าหมายผู้เข้าใช้งานกว่า ๕ แสนคน โดยต้องคำนึงถึงสารประโยชน์และความรู้ที่ผู้ใช้จะได้รับ รวมถึงการจัดการระบบการเข้าถึงแหล่งข้อมูลออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญต้องมีการจัดทำมุมความรู้ที่หลากหลาย และเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มคนอื่น เช่น ผู้ปกครอง หรือผู้ที่เกษียณอายุราชการ ให้เข้าใช้ตลาดการศึกษาดังกล่าวเป็นแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่สามารถเข้าไปค้นหาความรู้หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันได้จะเป็นศูนย์บริการทางการศึกษาสำหรับครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง และคนทั่วไป ที่เปิดโอกาสในการเข้าถึงความรู้ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด และครอบคลุมความต้องการทุกรูปแบบ เช่น ศูนย์รวมสรรพสิ่งเพื่อการศึกษา ระบบการจัดการเรียนการสอน เว็บไซต์โรงเรียน ศูนย์ปันปัญญา ทีวีโรงเรียน ห้องเรียนทางไกล ห้องประชุมออนไลน์ คลังข้อสอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการสอบออนไลน์ ซึ่งบริการเหล่านี้จะเปิดให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.noeplaza.org




ที่มา : http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=23357&Key=news2




วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศูนย์สื่อการเรียนการสอน


ศูนย์สื่อการเรียนการสอน 

          การดำเนินการและการจัดตั้งศูนย์สื่อการเรียนการสอนในสถานศึกษาของประเทศไทย ส่วนมากจะดำเนินการเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่สมบูรณ์ มีศูนย์สื่อการเรียนการสอนเพื่อให้บริการครูและนักเรียน โดยไม่ได้คำนึงว่าบทบาทของศูนย์สื่อการสอนที่แท้จริงคืออะไร เมอร์ริล และดรอบ (Merrill and Drob, 1977) ได้ให้ความหมายของศูนย์สื่อการสอนว่า เป็นองค์กรที่ทำกิจกรรมที่ประกอบด้วยผู้นำ,คณะทำงาน และสถานที่เก็บอุปกรณ์ หนึ่งในส่วนนั้นมีพื้นที่ในการผลิต การจัดหา การนำเสนอของวัสดุการสอน การจัดหาเพื่อพัฒนา และการวางแผนให้บริการซึ่งสัมพันธ์กับหลักสูตรและการสอน ปรัชญาพื้นฐานของการจัดองค์การและการจัดการของศูนย์สื่อการเรียนการสอนคือประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเพื่อการเรียนรู้ สามารถควบคุมประสิทธิภาพให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่าย การให้บริการ การให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ บนกระบวนการที่ได้มาตรฐาน เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์กลางและจัดการระบบควบคุมทั้งหมดเพื่อการเรียนรู้ (Wang, 1994) อาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ศูนย์สื่อการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดองค์กรเพื่อการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันมีที่มาประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ ห้องสมุด การให้บริการสื่อ ช่องว่างของการเรียนแบบเดิม และการพัฒนาการเรียนการสอน ศูนย์สื่อการสอนในแนวคิดเดิมจึงเป็นการนำห้องสมุดอันเป็นแหล่งความรู้ โดยนำสื่อเข้ามาช่วยเพื่อลดช่องว่างของการศึกษาที่มีอยู่เดิมเป็นการช่วยพัฒนาการเรียนการสอน (Peterson, 1974) 

          ทำไมนักการศึกษาจำนวนมากเห็นว่าควรมีศูนย์สื่อการสอนในสถานศึกษา ศูนย์สื่อการสอนช่วยพัฒนาการจัดการศึกษาได้อย่างไร กลับไม่ใช่ประเด็นที่สนใจของโรงเรียนมากกว่าไปศูนย์สื่อการสอนต้องมีอะไรและใครดูแลศูนย์นั้น แม้ว่าการกำหนดให้ศูนย์สื่อการสอนต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่คอยดูแลก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน แต่โดยเนื้อแท้ของการจัดตั้งศูนย์สื่อการเรียนการสอน (Learning Resource Center) ควรต้องคำนึงถึงหัวใจหลักคือ ความเป็นแหล่งที่รวมของการได้มาซึ่งความรู้ที่ผู้เรียนต้องการ เป็นศูนย์ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Students Center) เรียนรู้ผ่านสื่อ (Media) และทรัพยากรต่าง ๆ (Resource) ที่ได้จัดเอาไว้ให้ 


ตัวอย่างศูนย์วิทยบริการ








ศูนย์วิทยบริการ แหล่งผลิตสื่อการเรียนการสอนภายใน มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี



มีหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองจากทุกเวลา ทุกสถานที่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ ศูนย์วิทยบริการ มจธ. มุ่งมั่นผลิตสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน Education Technology Services and Resources Center.

ตัวอย่างการให้บริการ ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี

- E – learning

- CAI

บทเรียน
                                บทเรียนวิชาต่างๆ และ E-Book
เฉลยข้อสอบ
                                เฉลยข้อมความวิชาต่างๆ
สื่อปฏิสัมพันธ์อย่างง่าย
                                คณิตศาสตร์ และ สื่อสารมวลชน (Mass Communication)
โปรเจคนักศึกษา
                                ปัญหาควบคู่ Linear Programming การวิเคราห์ช่วยงานในการจำลอง

ที่มา : http://etsrc.lib.kmutt.ac.th/index.html